เรียนภาษาอังกฤษจากเพลง : Taylor Swift – Look What You Made Me Do

หายไปนาน กับบทความสอนภาษาจากเพลง ซึ่งงงง ประจวบเหมาะกับที่ช่วงนี้กำลังติดเพลงนี้ (ติดถึงขนาดนี้จะเอามาสอนได้ว่ามีตรงไหนน่าสนใจบ้าง 555) ก็เลยเอามาเขียนซะเลย

ก่อนอื่นก็ไปอ่านเนื้อเพลงเต็มๆก่อนเลยจ้ะ (คลิก)

ฟังเพลงไปพลางๆ


 

มาเริ่มจากคำศัพท์ และสแลงที่น่าสนใจกันหน่อย (เขียนว่า สแลง นะจ๊ะ ไม่ใช่ แสลง)

tilt (v.) = ทำให้เอียง
in the nick of time (idm.) = ในท้ายที่สุด / ทันเวลา / ก่อนจะสายเกินไป
rise / rose / risen (v.) = ลุกขึ้น / สูงขึ้น / ทะยานขึ้น
feast (n.) = งานเลี้ยง / กินเลี้ยง / ความพึงพอใจ (คำนี้เวลาใช้ก็ใช้กับกริยา throw a feast หรือ hold a feast ก็ได้)
move on (v.) = ก้าวต่อไป (อาจจะใช้กับการตัดใจจากคนรักเก่าก็ได้ หรือใช้กับเวลาที่หมุนไปเรื่อยๆก็ได้ ในเพลงนี้คือโลกหมุนไปเรื่อยๆ)


 

มาเริ่มอธิบายหลักไวยากรณ์ หรือแกรมมาร์ส่วนนึงจากในคำศัพท์ที่ไล่มาก่อนเลยละกัน

“tilt” เป็น verb หรือคำกริยาก็จริง แต่คำกริยาทุกๆคำเนี่ย เมื่อทำให้เป็น v.+ ing หรือ Verb ช่อง 3 จะเรียกได้ว่าเป็น Participle

Participle แบ่งได้เป็นสองอย่างคือ Present Participle (หรือ Verb + ing) และก็ Past Participle (หรือ Verb ช่อง 3) ในภาษาอังกฤษไม่มีคำว่า Verb ช่อง 3 กันแบบที่คนไทยเรียกนะ เค้าเรียกว่า Past Participle ในขณะที่ Verb + ing เนี่ยอาจจะมี Gerund ด้วย และ Present Participle ด้วย

Participle ทำอะไรได้บ้าง?
Participle ทำหน้าที่เป็น Adjective หรือคำคุณศัพท์ ใช้ขยายคำนามได้ และก็สามารถใช้ในตอนลดรูปของ Relative Clause ได้ด้วย
แต่ในที่นี้ขอพูดถึงแต่หน้าที่ Adj. นะ

เอาจริงๆคิดว่าเรื่องนี้ทุกๆคนอาจจะฟังละงงๆ แต่เคยเจอกันมาแล้วแน่นอน
ตัวอย่างคำว่า

Boring / Bored จริงๆแล้วมันก็เป็น Participle นี่แหละ แต่เราเรียกมันว่า Adj. มาจนชิน ซึ่งหน้าที่ของมันก็ Adj. ตามที่ว่ามา
ซึ่งมันมาจาก Verb “Bore” ที่แปลว่า “ทำให้เบื่อ”
ถ้าแปลไทยแบบง่ายๆ
Boring = “น่า”เบื่อ
Bored = (รู้สึก)เบื่อ

สามารถนำไปใช้ได้กับกริยาทั้งที่เป็นเรื่องความรู้สึก และการกระทำเลย
Interest = ทำให้สนใจ
Interesting = “น่า”สนใจ
Interested = (รู้สึก)สนใจ

ดังนั้นเวลาคนถามว่ากำลังทำอะไรอยู่ และเราตอบไปว่า “กำลังเบื่อๆอยู่” อย่าไปตอบว่า “I’m boring” นะ ให้ตอบว่า “I’m bored” หรือถ้าจะเอาให้ตรงกับคำว่า “กำลังเบื่อ” จริงๆก็ต้องเป็น “I’m feeling bored”
ไม่งั้นจะแปลว่า ฉันน่าเบื่อ ทันที

และถ้าจะพูดถึงสิ่งที่ไม่ใช่คน เมื่อมันไม่มีความรู้สึก ก็ไม่สามารถใช้ Past Participle กับมันได้

A fascinating video games = วิดิโอเกมที่น่าหลงใหล
A fascinated video games = วิดิโอเกมรู้สึกหลงใหล

 

ทีงี้ถ้าเป็นการกระทำอื่นๆบ้างล่ะ ก็สามารถเอามาขยายหน้าคำนามได้เหมือน Adj. ทั่วๆไปแต่หลักการก็คือ
Present Participle = คำนามเป็นผู้กระทำ
Past Participle = คำนามเป็นผู้ถูกกระทำ

Punch = ต่อย
Punching = ผู้ต่อย / Punching man = ผู้ชายคนที่เป็นคนต่อย
Punched = ผู้ถูกต่อย / Punched man = ผู้ชายที่ถูกต่อย

 

จริงๆแล้วหลักการนี้ก็นำไปใช้กับพวกความรู้สึกเหมือนกัน

Boring = คนที่ทำให้คนอื่นเบื่อ = คนน่าเบื่อ
Bored = คนที่ถูกทำให้รู้สึกเบื่อ = คนรู้สึกเบื่อ

นั่นเอง

 

ถ้าเอามาใช้กับเพลงนี้ “tilted stage” = เวทีที่ถูกทำให้เอียง

 


 

คำว่า Rise / Rose / Risen เป็นกริยา ที่มีความหมายว่า สูงขึ้น / ลุกขึ้น / ทะยานขึ้น
ความหมายเหมือนกับคำว่า Raise / Raised / Raised

แต่มีวิธีใช้ต่างกันเลย

ที่สำคัญคือเรื่องของ สกรรมกริยา (กริยาที่มีกรรม) และ อกรรมกริยา (กริยาที่ไม่มีกรรม)

Rise เป็น อกรรมกริยา คือห้ามมีกรรมเด็ดขาด!
Raise เป็น สกรรมกริยา คือควรจะมีกรรมตามมา

ตัวอย่างการใช้

I raised the flag to the top of the pole.
ฉันชักธงขึ้นยอดเสา

raise = กริยา ทำให้สูงขึ้นไป
flag = ธง ที่ถูกชักขึ้นไปนั่นเอง เป็นกรรมของ raise

จะใช้ rise กับตรงนี้ไม่ได้เด็ดขาด

แต่ถ้าบอกว่า
The flag rises upon the pole.
ธงอยู่สูงขึ้นไปบนเสา

อันนี้ไม่มีกรรม เลยใช้ rise ได้ ในที่นี้ The flag เป็นประธาน ไม่ใช่กรรม กริยาตัวนี้เลยใช้แค่บอกสภาพว่ามันอยู่บนเสาเฉยๆ

ในเพลงจะบอกว่า “I rose up from the dead” ก็คือ “ฉันลุกขึ้นจากความตาย” (แต่เป็นรูปอดีตนะ) ไม่มีกรรม เลยต้องใช้ rose

 

นอกเหนือจากสองคำนี้ก็ยังมี

Lie / Lay / Lain
Lay / Laid / Laid

ที่แปลว่า นอน (ไม่ใช่โกหกนะ ถ้าอันนั้น Lie / Lied / Lied)

Lie ถือเป็น อกรรมกริยา ห้ามมีกรรม
Lay เป็น สกรรมกริยา ควรมีกรรม

ตัวอย่าง

I lie down on bed
ฉันนอนลงบนเตียง

I lay him down on bed
ฉันพาเขานอนลงบนเตียง


 

ต่อมาจะพูดในเรื่องของ Causative หรือกริยาที่สื่อถึงการ “ให้ผู้อื่น กระทำให้เรา”

หลักๆแล้วจะมีอยู่ 4 ตัว คือ Have, Let, Make และ Get
Have = ให้ทำให้
Let = อณุญาตให้ทำให้
Make = บังคับให้ทำให้
Get = โน้มน้าวให้ทำให้

3 ตัวแรกจะประหลาดๆหน่อย วิธีการใช้ก็คือ

Have
Let             +  someone + do something
Make

ประหลาดยังไงล่ะ?

ถ้าเป็นกริยาทั่วๆไปเนี่ยรูปแบบมันจะเป็น
V + obj + to V.
He allowed me to work here.

แต่สามตัวนี้จะกลายเป็น

He made me work here.
(ไม่มี to แต่ verb ตัวหลังจะต้องเป็น infinitive หรือเอาง่ายๆคือ Verb ช่อง 1 แบบไม่เติม S นั่นเอง)

แล้ว Get ล่ะ?
อันนี้จะเหมือน verb ทั่วๆไปเลย

Get + someone + to do something
I get him to fix my computer

 

ดังนั้นชื่อเพลงนี้เลยใช้หลักการ make someone do something นี่แหละ
Look what “you made me do”
ดูสิว่า “เธอบังคับให้ฉันทำ” อะไรลงไป

เราจะไม่ใช้ Look what you made me to do
หรือ Look what you made me done ก็ผิดนะจ๊ะ

แล้วก็ยังมีอีกท่อนคือ

The role “you made me play”

 

แถมให้อีกตัวที่ใช้หลักการเดียวกันกับ 3 ตัวข้างบนก็คือ “Help”
I’ll help you do your job.

 

นอกจากนี้เนี่ย ยังมี Causative อีกแบบ คือให้คนอื่นทำให้นะ แต่ไม่บอกผู้กระทำละ

Have
                + Something + done 
Get            

done = Past Partciple หรือ Verb ช่อง 3 นะ

 

บอกผู้กระทำ
I have Jim do my homework. 
ฉันให้จิมทำการบ้านให้
I’ll get him to fix my car
ฉันจะเอารถไปให้เขาซ่อม

ไม่บอกผู้กระทำ
I have my homework done.
ฉันให้คนอื่นทำการบ้านให้
I’ll get my car fixed
ฉันจะเอารถไปซ่อม


 

เรื่องสุดท้ายละ คือการใช้ Double Negative

I don’t trust nobody.

ในภาษาพูดนี่ถือเป็นเรื่องปกตินะ แต่ตามหลักจริงๆแล้วมันไม่ควรมีปฏิเสธซ้ำกันสองตัว (don’t กับ nobody)
ควรจะเป็น
I don’t trust anybody. หรือ
I trust nobody. 

ที่แปลว่า ฉันไม่เชื่อใจใครทั้งนั้น (การ double negative อาจจะใช้เพื่อเน้นว่า ไม่เชื่อใจใครเลย จริงๆนะ)

ถามว่าเอาไปใช้ตามปกติได้มั้ยก็ใช้ได้ แต่ถ้าเป็นในข้อสอบพวกแกรมมาร์ก็ถือว่าผิดนะคะ
คำอื่นๆที่เป็นปฏิเสธก็คือ

Rarely, Barely, Hardly, Never, Seldom, Without, Only

He’s barely breathless.

ต้องเปลี่ยนเป็น
He barely breathes หรือ
He’s breathless

I don’t have only 3$.

เปลี่ยนเป็น
I have only 3$. หรือ
I don’t have 3$.

 

ตรงไหนผิดถูกยังไงติเตียนได้น้าาา